ประวัติความเป็นมาจังหวัดนครราชสีมา

ประวัติความเป็นมาจังหวัดนครราชสีมา

hqdefault

นครราชสีมา เป็นเมืองใหม่ที่เกิดขึ้นจากเมืองเก่า 2 เมือง คือเมืองเสมาและ เมืองโคราฆะปุระ อันเป็นเมืองเก่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยขอมยังเป็นใหญ่อยู่บนแผ่นดินที่ราบสูงของอีสาน ปัจจุบันเมืองเก่าทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งลำตะลองคนละฝากฝั่ง ในเขตท้องที่อำเภทสูงเนิน ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากตัวจังหวัดราชสีมาปัจจุบันประมาณ 31 กิโลเมตร

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดสร้างเมืองใหม่ คือ เมืองนครราชสีมา ขึ้น ระหว่างปี ค.ศ.2199 – 2231 ซึ่งออกแบบสร้างเมืองใหม่อย่างแข็งแรง มีป้อมกำแพงเมือง ประตูสี่ด้าน ซึ่งนัยออกแบบโดยช่างชาวฝรั่งเศสที่มารับราชการอยู่ ณ เมืองลพบุรีในสมัยนั้น เมื่อสร้างเมืองใหม่แห่งนี้เสร็จแล้ว ก็อพพผู้คนจากเมืองเสมาและเมืองโคราฆะปุระมาอยู่เมืองใหม่นี้   ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลนั้น นครราชสีมาเป็นที่ตั้งมณฑลลาวกลาง ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลนครราชสีมา จนถึงปี พ.ศ. 2476 นครราชสีมาจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมา

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า นครราชสีมา แห่งนี้มีชื่อเรียกสามัญเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายว่า โคราช และดูรู้สึกว่าชื่อโคราชจะนิยมใช้กันมากกว่านครราชสีมาเสียอีก เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ และทำไมนครราชสีมาจึงมีชื่อเรียกสามัญว่าโคราช ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องที่น่ารู้อยู่ไม่น้อยจึงใครขอนำพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในนิทานโบราณคดีเรื่องลานช้าง ที่ทรงวินิฉัยชื่อเมืองนครราชสีมา   มาให้คุณอ่านพอสมควรดังนี้

“วินิฉัยชื่อเมืองนครราชสีมา”

เมืองนครราชสีมา มีชื่อเป็น 2 ชื่อ แต่ก่อนมาคนทั้งหลายเรียกว่า “เมืองโคราช” ทั่วไป เรียกว่า “เมืองนครราชสีมา” แต่ในทางราชการ ถึงเดี๋ยวนี้ราษฎรยังเรียกกันว่า “เมืองโคราช” เป็นพื้น เหตุไฉนจึงมี 2 ชื่อเช่นนี้ ฉันเคยค้นเค้าเงื่อนแต่เมื่อขึ้นไปเมืองนครราชสีมาครั้งแรก เวลานั้นรถไฟไปได้เพียงตำบลทับกวางในดงพระยาไฟแล้วต้องขี่ม้าต่อไป เมื่อฉันไปพักแรมที่บ้านสูงเนิน เข้าบอกว่าในอำเภอนั้นมีเมืองโบราณอยู่ 2 เมือง ฉันจึงให้พาไปดู เห็นเมืองย่อมๆ ไม่สู้ใหญ่โตมากนัก แต่ก่อปราการด้วยศิลาและมีของโบราณอย่างอื่น แสดงฝีมือว่าเป็นเมืองสร้างเมื่อครั้งสมัยขอมทั้ง 2 เมือง เมืองหนึ่งต้องอยู่ห่างฝั่งซ้ายลำตะคอง อันเป็นลำธารมาแต่เขาใหญ่ น้ำไหลไปตกลำน้ำมูล อีกเมืองหนึ่งอยู่ทางฝั่งขวาลำตะคอง ไม่ห่างกันนัก เมืองทางฝั่งซ้ายเรียกชื่อว่า “เมืองเสมาร้าง” เมืองทางฝั่งขวาเรียกชื่อเมืองว่า “เมืองเก่า” สังเกตดุเครื่องหมายศาสนา ดูเหมือนผู้สร้างเมืองเสมาร้างจะถือศาสนาพราหมณ์ ผู้สร้างเมืองเก่าจะนักถือพระพุทธศาสนา ฉันยังจำได้ว่ามีพระนอนศิลา ขนาดใหญ่อยู่ที่เมืองเก่าองค์หนึ่ง ครั้งไปถึงเมืองนครราชสีมา เห็นลักษณะเป็นเมืองฝีมือไทยสร้างเมื่อภายหลัง 2 เมืองที่กล่าวมาก่อน รู้ได้ด้วยป้อมปราการล้วนก่อด้วยอิฐและรื้อเอาแท่งศิลาจำหลักจากปราสาทหินครั้งขอม มาก่อแวมกับอิฐก็มีหลายแห่ง เมื่อได้เห็นทั้ง 3 เมืองดังว่ามา ฉันคิดวินิจฉัยว่า “เสมาร้าง” น่าจะมีก่อนเพื่อน เดิมเห็นจะเรียกว่า “เมืองเสมา” เมื่อตั้ง “เมืองเก่า” เพราะอันใดอันหนึ่ง ทิ้งเมืองเสมาเป็นเมืองร้าง คำว่า “ร้าง “ จึงติดอยู่กับเมืองเสมา เหตุใดจึงเรียกชื่ออีกเมืองหนึ่งว่า “เมืองเก่า” นั้นก็พอคิดได้ เพราะคำว่า “เก่า” เป็นคู่กับ “ใหม่” ต้องมีเมืองใหม่จึงมีเมืองเก่า แสดงว่าเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลสูงเนิน ครั้งเมื่อสร้างเมืองนครราชสีมาเดี๋ยวนี้ขึ้น ย้ายมาอยู่ที่เมืองใหม่แล้ว จึงเรียกเดิมว่า “เมืองเก่า” แต่เมื่อยังตั้งอยู่ที่เมืองเก่า จะต้องเรียกชื่อเมืองนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเรียกว่า “เมืองเก่า” เมื่อยังไม่มี “เมืองใหม่” ไม่ได้ ข้อคิดนี้ฉันคิดว่าเมื่อสร้าง “เมืองเก่า” ในสมัยขอม พวกพราหมณ์คงเอาชื่อเมือง “เมืองโคราฆะปุระ” ในมัชณิมประเทศ อันอยู่ข้างใต้ไม่ห่างจากเมืองจากเมืองกบิลพัสดุ์ ที่พระพุทธองค์เสดร็จประทับเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์มาขนานอย่างเดียวกับชื่อเมืองอื่นๆ ในอินเดีย มาขนานในประเทศนี้อีกหลายเมือง เช่น เมืองอยุธยาและเมืองลพบุรี เป็นต้น เมืองเก่านั้นเดิมคงเรียกว่าเมืองโคราฆะปุระ อันเป็นมูลของชื่อที่เรียกเพื้ยนมาว่าเมืองโคราช ยังคิดเห็นต่อไปว่า ชื่อที่เรียกเมืองใหม่ว่า “เมืองนครราชสีมา” น่าจะเอาชื่อ “เมืองโคราฆะ” กับ “เมืองเสมา” มาผสมกันประดิษฐ์ “นคราชสมา” ด้วย

ส่วนเมืองนครราชสีมานี้ ฉันพิจารณาดูลักษณะที่สร้างกับทั้งขนาดและแผนผังทั้งรูปป้อมปราการ ละม้ายเหมือนกับเมืองนครศรีธรรมราชมาก เห็นว่าจะสร้างในสมัยเดียวกันทั้งสองเมือง แต่จะสร้างในรัชกาลไหนในสมัยในกรุงศรีอยุธยา ฉันนึกว่าได้เคยเห็นในหนังสือฝรั่งแต่งแต่โบราณเรื่องหนึ่งว่า ในสมัยพระรารายณ์มหาราชแต่เมื่อเขียนนิทานเรื่องนี้นึกถึงชื่อหนังสือนั้นไม่ออก จึงไม่กล้ายืนยันกล่าวได้โดยมีหลักฐาน แต่ว่าสร้างก่อน พ.ศ. 2225 เพราะในเรื่องพงศาวดารมีว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรณคต พระเพทราชาชิงได้ราชสมบัติ เมืองนครราชสีมากับเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแข็งเมืองกองทัพในเมืองออกไปตีได้ด้วยยาก เพราะมีป้อมปราการทั้ง 2 เมือง”

นี่คือความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของชื่อ “นครราชสีมา” และ “โคราช” อันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแหงประวัติศาสตร์ไทย ในหนังสือนิทานโบราณคดีเรื่องล้านช้าง

อ้างอิง:http://www.thaiesan.net

ใส่ความเห็น