นิกายในศาสนา

นิกายในศาสนา

นิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  มีอยู่  4  นิกายใหญ่ๆ  มีรายละเอียด  ดังต่อไปนี้

Vishnu_7

1)  นิกายไวษณวะ  หรือไวษณพ

ผู้ก่อตั้งนิกาย  คือ  ท่านนาถมุนี  ดำเนินการเผยแผ่ลัทธิอยู่ทางภาคใต้ของอินเดีย  เป็นนิกายที่บูชาพระวิษณุหรือพระนารายณ์  เชื่อการอวตารลงเป็นพระรามในมหากาพย์รามายณะเป็นพระกฤษณะในคัมภีร์ภควัทคีตา  และเป็นพระพุทธเจ้า  เป็นตัว  นิกายนี้เน้นหนักการนับถือในพระวิษณุหรือพระนารายณ์ว่าสำคัญกว่าเทพเจ้าองค์อื่นๆ  หน้าที่ของพระนารายณ์ไม่ใช่เพียงรักษาโลกให้ดำรงอยู่เท่านั้น  แต่ยังเป็นผู้สร้างและผู้ทำลายโลกอีกด้วย  นิกายนี้จึงเป็นเอกนิยม  นับถือพระวิษณุเพียงองค์เดียว  ยุบเอาลักษณะและความเชื่อในพระเจ้าทั้ง  3  มารวมไว้ในพระวิษณุองค์เดียว

ในพุทธศตวรรษที่  19  นิกายไวษณวะ  ได้แยกออกเป็น  2  สาขาใหญ่  คือ  เตงกไล  ซึ่งเป็นนิกายฝ่ายใต้  กับ  วฑกไล  ซึ่งเป็นนิกายฝ่ายเหนือ  นอกจากนี้ยังแตกแยกออกเป็นนิกายย่อยอีก  3  นิกาย  คือ

(1)  นิกายรามานุช  มีสัญลักษณ์ประจำคือ  มีดิลก  (จุด)และเครื่องหมายเป็นขีดเส้นสีขาว  ๒  เส้นที่หน้าผาก  โดยขีดจาดตีนผมลงมาจรดคิ้ว  และมีเส้นขวางที่ดั้งจมูก

(2)  นิกายมาธวะ  มีความเชื่อว่า  สิ่งที่เกิดจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง  ย่อมเป็นไปไม่ได้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีแหล่งกำเนิดของมัน

(3)  นิกายวัลลภะ  ไม่ถือการบำเพ็ญพรตและการทรมานตนเหมือนิกายอื้น  นิกายนี้เขียนหน้าผากเป็น  4  แบบ  คือ

1)  ขีดเส้นคู่  ๒  ข้าง  แต้ม  จุดหรือดิลกตรงกลาง

2)  เขียนเป็นรูปเกือกม้าแต้มจุดหรือดิลกตรงกลาง

3)  เขียนเป็นรูปเกือกม้าและขีดเส้นตรงเส้นหนึ่งตรงกลาง

4)  เขียนเป็นรูปไข่

imagesV2NHFOM1

2)  นิกายไศวะ

นิกายนี้ถือว่า  พระศิวะเป็นผู้สร้างโลก  เป็นแก่นแท่ของจักรวาล  การนับถือของนิกายนี้มี  2  ลักษณะ  คือ

(1)  นับถือและบูชาลิงคะ  หรือ  ศิวลึงค์  คือ  เครื่องหมายเพศบุรุษ  เป็นเครื่องแทนพระศิวะในฐานะเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง

(2)  นับถือและบูชาโคนันทิ  ซึ่งเป็นพาหนะของพระศิวะ  เป็นผู้ให้น้ำนมและเนื้อแก่มนุษย์  เปรียบเหมือนเป็นมารดาของคนอินเดีย  เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู

สัญลักษณ์ของคนที่นับถือนิกายนี้  คือ  การใช้ขี้เถ้าของขี้วัวเขียนหน้าผากเป็นเส้นและจุดดิลก  4  แบบ

1)  ขีดเส้นที่หน้าผาก  2  ขีด  แต้มดิลกข้างใต้

2)  ขี้เส้น  3  ขีด  แต้มดิลกใหญ่ตรงกลาง

3)  เขียนเป็นรูปี่เหลี่ยม

 4)  เขียนเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวแต้มดิลกตรงกลาง

นิกายไศวะนี้  ภายหลังแตกแยกออกเป็นนิกายย่อยใหญ่ๆ  2  นิกาย  คือ

1)  นิกายกาศมีรไศวะ  หรือ  กัษมีไศวะ  เป็นนิกายฝ่ายเหนือ  เกิดขึ้นในแคว้นแคชเมียร์  เชื่อว่า  พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดองค์เดียว  และทรงแฝงอยู่ในสรรพสิ่ง

2)  นิกาย  ลิงคายัต  เป็นนิกายฝ่ายใต้  มีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์  ก่อตั้งโดยท่านลกุลีศะซึ่งนิกายนี้เชื่อกันว่าเป็นพระมเหศวร  คือ  การอวตารเป็นครั้งสุดท้ายของพระศิวะ

shakti

3)  นิกายศักติ

คำว่า  ศักติ  แปลว่า  ความสามารถ  อำนาจ  พลัง  ความสูงส่ง  บุคคลผู้มีพลังดั่งกล่าวคือเทวีหรือเทพเข้าผู้หญิง  นิกายนี้จึงนับถือมเหสีของมหาเทพทั้ง  3  องค์  การนับถือศักติหรือมหาเทวีไม่ให้แยกออกเป็นนิกายเอกเทศ  แต่แฝงอยู่ในนิกายไศวะ  และไวษณวะนั่นเอง  กล่าวคือ  ในนิกายไศวะก็นับถือพระชายาของพระศิวะซึ่งมีเพียงพระองค์เดียวแต่มีหลายชื่อเช่น  อุมา  กาลี  ทุรคา  เป็นต้น  ส่วนนิกายไวษณวะก็นับถือพระนางลักษมีซึ่งเป็นพระชายาของพระวิษณุหรือพระนารายณ์  นิกายที่นับถือพระพรหมก็นับถือพระนางสรัสดีซึ่งเป็นมเหสีของพระพรหม  เป็นต้น

แต่โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะนับถือพระนางอุมายิ่งกว่าเทพีองค์อื่นๆ  เพราะพระนางเป้นมเหสีของพระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าที่คนเกรงกลัว  ดังนั้น  พระนางอุมาจึงมีพระนามหลายอย่าง  คู่กับพระศิวะเช่น  มหาเทวี  คู่กับมหาเทพ  โยคินี  คู่กับมหาโยคีชคันมาตรี  (มารดาของโลก)  คู่กับอิศวร  ทุรคา  หรือไภรวะ  (ผู้น่ากลัว)  กาลี  (ผู้ทำลาย)  คู่กับมหากาล  เป็นต้น

การบูชาของนิกายศักติแปลกกว่าการบูชาของนิกายอื่นๆ  เช่น  ตัดคอแพะบูชาเจ้าแม่กาลี  หรือการประกอบพิธีกรรม  นิกายศักติแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ

(1)  ทักษิณาจารี  คือ  การบูชาด้วนขวา  หมายถึง  ผู้นับถือนิกายศักติที่บูชาพระศิวะ  พระวิษณุ  พระกฤษณะและพระชายาในฐานะเป็นมหาเทพ  ไม่ใช่ด้วยความถึงพอใจต่อพระเทวีในแง่กามารมณ์  มีการทำพิธีอย่างเปิดเผย  สุภาพ  ไม่ลามกอนาจาร  ตามคำสอนในคัมภีร์ปุราณะ

(2)  วามาจารี  คือ  พวกบูชาด้านซ้าย  หมายถึง  ผู้นับถือนิกายศักติที่บูชาพระนางทุรคามากกว่าพระศิวะ  บูชาพระนางราธามากกว่าพระกฤษณะ  และบูชาพระนางลักษมีมากกว่าพระวิษณุ  นิกายนี้บูชาพระเทวีทุรคาไม่ใช่ในฐานะพระชายาของมหาเทพ  แต่ในฐานะพระเทวีที่เป็นประธานในการร่วมเพศ  และพิธีให้เกิดฤทธิ์เดช  การบูชาต้องทำพิธีในที่ลับตามพิธีที่เรียกว่า  ปัญจมการ  หรือ  ม 5  ประการ  คือ

1)  มัทยะ  หรือมัชชะ  คือ  น้ำเมา

 2)  มางสะ  คือ  เนื้อสัตว์  ตลอดทั้งมัตสยะ  เนื้อปลาสด

3)  มันตระ  คือ  บทสวดที่จะทำให้เกิดความกำหนัด

4)  มุทระ  คือ  การแสดงท่ายั่วยวน  และ

5)  ไมถุน  คือ  เสพเมถุนหรือการร่วมเพศ  เพราะเชื่อกันว่า  เจ้าแม่ทุรคา  หรือเจ้าแม่กาลีทรงโปรดการบูชายัญและการเสพเมถุน  ดังนั้น  การประกอบกิจดังกล่าวจึงทำให้พระนางพอพระทัย  และอีกจุดประสงค์หนึ่งก็เบื่อให้เบื่อหน่ายในกามโดยสนองความต้องการให้เต็มพี่ก็จะมาถึงจุดเบื่อหน่าย  แบบหนามยอกเอาหนามบ่ง

42322

4)  นิกายตันตระ

คำว่า  ตันตระ  แปลว่า  พิธีการ  แบบแผน  หรือกฎเกณฑ์  หมายถึงแบบแผนของพิธีกรรมต่างๆ  ของฮินดูยุคหลังพุทธกาล  นิกายนี้เกิดมาจากการนับถือศักติฝ้ายซ้าย  เน้นหนักไปในทางกามารมณ์  การบูชาศักติที่เป็นลักษณะเด่นเฉพาะของนิกายนี้คือ  การทำพิธีให้ศักติหรือมหาเทพที่เป็นสามีพอใจ  ได้แก่  การเริ่มต้นด้วยการพรรณนาคุณแห่งความรักใคร่ของสตรีและบุรุษแล้วจบลงด้วยการเสพเมถุน  พิธีกรรมดังกล่าวเป็นของพวกวามาจารินหรือกาฬจักร  เพราะต้องประกอบพิธีในเวลาเที่ยงคืนของข้างแรม  ผู้เป็นศาสนิกจะพากันมาชุมนุมกันหน้าเทวรูปของพระอุมาเทวีหรือเจ้าแม่ทุรคา  แล้วเริ่มทำพิธีกรรมตามขั้นตอนของ  ม  ทั้ง  5  (ปัญจมการ)

อ้างอิง

https://sites.google.com/site/phechmvk/sasna-phrahmn-hindu

http://allknowledges.tripod.com/brahmin.html

http://www.whatami.net/tri/rel13.html

http://news.voicetv.co.th/world/67949.html

http://www.m-culture.go.th/ilovethaiculture/index.php

hhttp://www.watsamrong.com/tamma2.htm