หลักคำสอนสำคัญ

หลักคำสอนสำคัญ

หลักคำสอนสำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  มีดังต่อไปนี้

1.  อาศรม  หรือวิธีปฏิบัติของพราหมณ์  4

คัมภีร์พราหมณะและอรัณยกะ  ได้บัญญัติวิถีชีวิตสำหรับบุคคลที่จะเป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์  โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้  100  ปี  แบ่งช่วงของการใช่ชีวิตไว้  4  ตอนๆ  ละ  25  ปี  ช่วงชีวิตแต่ละช่วงเรียกว่า  อาศรม  หรือ  วัย  มี  4  ขั้นตอน  ดังนี้

1)  ขึ้นพรหมจรรย์

ในขึ้นตอนนี้  เด็กชายในตระกูลพราหมณ์  กษัตริย์และไวศยะที่มีอายุครบ  8  ปี  จะต้องเข้า

พิธีอุปานยัน  คือ  ให้พราหมณ์ผู้ทรงคุณวุฒิสวมสายธุรำ  หรือยัชโญปวีต  เป็นการประกาศตนเป็นพรหมจาตี  เป็นการประกาศตนว่าเป็นนักเรียน  หรือแปลตามศัพท์ว่าผู้มีความประพฤติประเสริฐ  จนอายุครบ  25  ปี  พรหมจารีมีหน้าที่ดังนี้

(1)      ตั้งใจเรียนวิชาการในวรรณะของตน

(2)   เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูอาจารย์

(3)    ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ

(4)    ไม่คบเพื่อนเพศตรงกันข้าม

(5)    เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องทำพิธีกรรมเกศานตสันสกา  (ตัดผม)  และพิธีคุรุทักษิณามอบสิ่งตอบแทนครูอาจารย์

2)  ขั้นคฤหัสถ์

ในขั้นตอนนี้  พรหมจารีตผู้ผ่านอาศรมที่  1  แล้ว  ก็กลับมาสู่บ้านของตนช่วย  พ่อ-แม่ทำงาน  แต่งงานเป็นหัวหน้าครอบครัว  ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว  ทำการบูชาเทวดาทุกเช้าค้ำ  ชีวิตอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้า  จึงต้องกระทำแต่สิ่งที่ดีงาม  อยู่ในช่วงอายุ  51-75  ปี

3)  ขั้นวานปรัสถ์

ในขึ้นตอนนี้  คฤหัสถ์ผู้ต้องการแสวงหาความสงบสุขทางใจ  ก็จะออกจากครอบครัวไปอยู่ในป่าบำเพ็ญสมาธิ  โดยอาจจะกลับมาสู่ครอบครัวอีกก็ได้  อยู่ในช่วงอายุ  51-75  ปี

4)  ขั้นสันยาสี

ในขั้นตอนนี้  พราหมณ์ที่ปรารถนาความหลุดพ้น  เรียกว่า  โมกษะ  จะออกจากครอบครัวไปอยู่ป่า  ออกบวช  เพื่อปฏิบัติธรรมขั้นสูง  และไม่กลับมาสู่โลกียวิสัยอีกเลย  เมื่อบวชแล้วจะสึกไม่ได้  บำเพ็ญสมาธิแสวงหาความหลุดพ้น  อยู่ในช่วงอายุ  76  ปีขึ้นไป

2.  หลักคำสอนเรื่องตรีมูรติ

เทพเจ้าที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  ได้แก้  พระพรหม  พระศิวะ  และพระนารายณ์  รวมเรียกว่า  ตรีมูรติ  เทพเจ้าแต่ละองค์มีหน้าที่  ดังต่อไปนี้

1)  พระพรหม

พระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์และสรระสิ่งทั้งหลายในโลก  ในแนวคิดยุคแรกๆพระพรหมมีลักษณะที่ไม่มีตัวตน  แต่ครั้นเวลาต่อมา  พวกพราหมณ์ได้พบข้อบกพร้องว่า  เมื่อพระพรหมไม่มีตัวตน  ประชาชนเรารพบูชาไม่ได้  พวกพราหมณ์จึงได้กำหนดให้พระพรหมมีตัวตน  มี  4  พักตร์  สามารถมองดูได้ทั่วทิศ  และเพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชา  ดังนั้น  ลักษณะของพระพรหมจึงเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม  กล่าวคือ  พระพรหมที่มีลักษณะเป็นนามธรรมนั้น  หมายถึงสิ่งที่เป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่งในจักรวาล  ส่วนพระพรหมที่เป็นรูปธรรมเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่  เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง  พระพรหมมีพระชายาชื่อพระสรัสวดี  ซึ้งเป็นเทพีแห่งวาจาและการศึกษาเล่าเรียน  เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะวิทยาทั้งปวง

2)  พระศิวะ

พระศิวะ  เป็นเทพแห้งการทำลาย  มีหลายชื่อ  เช่น  อิศวร  รุทระ  และ  นาฏราช  เป็นต้น  ประทับอยู่ที่ภูเขาไกรลาส  มีโคนันทีเป็นพาหนะ  และมีศิวลึงค์เป็นเครื่องหมายของพลังแห่งการสร้างสรรค์

ลักษณะของพระศิวะเป็นรูปฤๅษี  มี  4  กร  นุ่งห่มหนังสัตว์  ประทับนั่งบนหนังเสือโคร่ง  ถืออาวุธตรีศูล  ธนู  และคทาหัวกะโหลกมนุษย์  ห้อยพระศอด้วยประคำร้อยด้วยกะโหลก  มีงูเป็นสังวาล  พระศอมีสีดำสนิท  กลางพระนลาฏมีพระเนตรดวงที่  3  ถ้าพระศิวะลืมพระเนตรที่  3  เมื่อใด  ไฟจะไหม้โลกเมื่อนั้น  เหนือพระเนตรดวงที่  3  มีรูปพระจันทร์ครึ่งซีก

พระศิวะมีพระชายาชื่ออุมา  ซึ่งมีหลายลักษณะและมีรายชื่อเรียก  เช่น  ปารสตีเทวีผู้เป็นบิดาแห่งหิมวัตหรือหิมาลัย  ทุรคาเทวีผู้เป็นเจ้าแม่แห่งสงคราม  และกาลีเทวีผู้มีกายสีดำเป็นต้น

3)  พระวิษณุหรือพระนารายณ์

พระวิษณุหรือพระนารายณ์  เป็นเทพเจ้าผู้รักษาและคุ้มครองโลกให้เป็นสุขพระนารายณ์เป็นเทพเข้าที่มีพลังทางทำนุบำรุงโลก  เมื่อเวลาใดโลกเกิดยุคเข็ญ  เมื่อเวลานั้นพระนารายณ์จะเสด็จไปช่วยบำบัดทุกข์  ปราบยุคเข็ญ  เรียกว่า  อวตาร

พระนารายณ์ประทับอยู่ในเกษียรสมุทร  มีพระยาอนันตราชเป็นบัลลังก์  ทรงครุฑเป็นพาหนะ  มีพระชายาชื่อ  ลักษมี  ผู้เป็นเทพีแห้งความงาม  ผู้อำนวยโชคลาภ  ความมั่นคง  และผู้มีจิตใจเมตตาปราณี  เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นวามนาม  ปรศุราม  และพระราม  พระชายาลักษมีก็เสด็จลงมาเป็นนางปทุมาเป็นนางปทุมาหรือกมลา  นางธรณี  และนางสีดาตามลำดับ

พระนารายณ์จะอวตารลงมาจากสวรรค์และเกิดเป็นสัตว์หรือมนุษย์ต่างๆเพื่อช่วยเหลือโลกเรียกว่า  นารายณ์อวตาร  จำนวน  1o  ปาง  ดังต่อไปนี้

(1)  มัตสยาวตาร  ลงมาเกิดเป็นปลา  เพื่อปราบยักษ์ชื่อ  หยคีวะ  ซึ่งทำให้มนุษย์หลงผิดจนเกิดน้ำท่วมโลก

(2)  กูรมาวดาร  ลงมาเกิดเป็นเต้าในเกษียรสาคร  (ทะเลน้ำนม)  ให้หลังรองรับภูเขาชื่อ  มันทาระ  เทวดาใช้ลำตัวพญานาคมาต่อกันทำเป็นเชือกผูกภูเขาเพื่อใช้เป็นสายโยงสำหรับดึงภูเขาให้เคลื่อนไหว  เพื่อกวนน้ำในมหาสมุทรจนกลายเป็นน้ำอมฤต

(3)  ทราหาวตาร  ลงมาเป็นหมูป่า  เพื่อปราบยักษ์  หิรัณยากษะ  ผู้จับโลกกดให้จมน้ำทะเล  โดยใช้เขี้ยวดุนให้โลกพ้นน้ำ  สัตว์โลกจึงได้เกิดมา

(4)  นรสิงหาวตาร  ลงมาเกิดเป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งสิงห์  เพื่อปราบยักษ์ชื่อ  หิรัณยกศิปุ  ผู้ได้พรจากพระพรหมว่าจะไม่มีใครฆ่าให้ตายได้  จึ้งก่อความเดือดร้อนทั้ง  3  โลก

(5)  วามนาวตาร  ลงมาเกิดเป็นคนค้อมผู้มีฤทธิ์  เพื่อปราบยักษ์ชื่อ  พลิ  มิให้มีอำนาจครองโลกทั้งสาม  และได้ไล่ยักษ์พลิให้ไปอยู่ใต้บาดาล

(6)  ปรศุรามาวตาร  ลงมาเกิดเป็นรามผู้เขียนขวานเป็นสัญลักษณ์  เป็นบุตรของพราหมณ์  พยายามป้องกันไม้ให้กษัตริย์มีอำนาจเหนือวรรณะพราหมณ์  ได้ชำระโลกถึง  21  ครั้ง  เพื่อทำลายกษัตริย์

(7)  รามาวตาร  ลงมาเกิดเป็นพระราม  (รามจันทร์)  ในมหากาพย์รามายณะเพื่อปราบท้าวราพณ์หรือทศกัณฐ์

(8)  กฤษณาวตาร  ลงมาเกิดเป็นพระกฤษณะ  ผู้มีกายดำ  เป็นสารถีขับรถศึกให้อรชุนเพื่อปราบคนชั่วในมหากาพย์มหาภารตะ

(9)  พุทธาวตาร  ลงมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า  ประกาศหลักธรรมช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ซึ่งเป็นการปฏิรูปคำสอนของศาสนาพราหมณ์  เหตุผลที่ศาสนาฮินดูดึงเอาพระพุทธเจ้าเข้ามาเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์นั้น  นับเป็นการกลืนพระพุทธศาสนาอีกวิธีหนึ่ง

(1o)  กัลป์ยาวตาร  หรืออัศวาวตาร  ลงมาเกิดเป็นบุรุษอาชาไนยหรืออัศวินผู้ขี่ม้าขาว  (กัลกี)  ถือดาบอันมีฤทธิ์ทีแสงแปลบปลาบดังดาวหาง  เพื่อปราบคนชั่วและสถาปนาระบบธรรมะขึ้นใหม่ในโลก

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อว่า  โลกมีการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และสลายไปในที่สุดการบูชาเทพเจ้าทั้ง  3  องค์เหล่านี้เป็นลักษณะของบุคลาธิษฐาน  เป็นการบูชาเพื่อให้รู้แจ้งสภาวธรรม  3  ประการ  นั่นคือการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และสลายไปของโลกนั่นเอง

3.  หลักคำสอนการหลุดพ้นหรือโมกษะ

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  เชื่อว่า  วิญญาณเป็นอมตะจึ้งไม่ตายตามร่างกาย  การตายเป็นเพียงวิญญาณออกจากราง  เพราะร่างกายไม่สามารถอาศัยอยู่ได้  วิญญาณก็จะไปถือเอาร่างใหม่  หรือเรียกว่า  เกิดใหม่  ดุจคนสวมเสื้อที่เก่าครำคร่า  ไปหาชุดใหม่สวมวาเรียกว่า  สังสารวัฏ  เวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไปตราบที่ยังไม่บรรลุความหลุดพ้น  หรือโมกษะชาวฮินดูเชื่อว่า  โมกษะเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต  ผู้เข้าถึงโมกษะจะไปอยู่กับพระพรหมชั่วนิรันดร  ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด  ตายเกิดอีกต่อไป  การปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะนั้น  มีหลักปฏิบัติ  4  ประการ  คือ

1)  กรรมมรรค  (กรรมโยคะ)  คือ  การปฏิบัติด้วยการประกอบการงานตามหน้าที่ด้วยความขยันขันแข็ง  แต่ทำงานด้วยจิตใจสงบ  ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ  ผู้ปฏิบัติเรียก  กรรมโยคิน

2)  ชยานมรรค  (ชยานโยคะ)  คือ  การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงว่า  ปรมาตมันเป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่  วิญญาณที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล  (ชีวาตมัน)  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมันหรือวิญญาณสากล

3)  ภักติมรรค  (ภักติโยคะ)  คือ  ความจงรักภักดีต่อเทพเจ้าที่ตนเคารพนับถือผู้ปฏิบัติเรียกว่า  ภักติโยคิน

4)  ราชมรรค  (ราชโยคะ)  คือ  การปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกทางใจ  บังคับใจให้อยู่ในอำนาจด้วยการบำเพ็ญโยคะ  ผู้ปฏิบัติเรียกว่า  ราชโยคิน

อ้างอิง

https://sites.google.com/site/phechmvk/sasna-phrahmn-hindu

http://allknowledges.tripod.com/brahmin.htm

http://www.whatami.net/tri/rel13.html

http://news.voicetv.co.th/world/67949.html

http://www.m-culture.go.th/ilovethaiculture/index.php/

http://www.watsamrong.com/tamma2.htm