คัมภีร์ในศาสนา

คัมภีร์ในศาสนา

คัมภีร์สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแบ่งออกเป็น  ๒  ส่วนด้วยกัน  คือ

ส่วนที่เป็นศรุติ  แปลตามรูปศัพท์ว่า  ได้ยิน  ได้ฟัง  ได้แก่  คัมภีร์ที่ถือว่าได้ยินได้ฟังมาจากพระผู้เป็นเจ้าโดนตรง  ไม่มีผู้แต่ง  เป็นสัจธรรมที่มีความแท้จริง  เพราะเป็นคำสอนของพระเจ้า  เป็นประมวลความรู้ต่างๆอันเป็นความรู้ทางศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เป็นบทสวดสรรเสริญอ้อนวอน  พิธีกรรมเพื่อการบูชาพระเจ้า  เสทมนต์คาถา  และกวีนิพนธ์อันไพเราะ  บันทึกด้วยภาษาสันสกฤต  เรียกว่า  คัมภีร์พระเวท  แบ่งออกเป็น  4  คัมภีร์หรือหมวด  เรียกว่า  สังหิตา  คือ

1)  ฤคเวท  เป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด  เป็นบทสวนหรือมนต์สรรเสริญอ้อวนวอนพระผู้เป็นเจ้า  บทสวดคัมภีร์ฤคเวทเป็นบทร้อยกรอง

2)  ยชุรเวท  เป็นคัมภีร์ที่เป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์  ซึ่งเป็นบทร้อยแก้วที่อธิบายวิธีการประกอบพิธีกรรม  บวงสรวงและการทำพิธีบูชายัญ

3)  สามเวท  เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดมนต์  ซึ่งเป็นบทร้อยกรอง  ใช้สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสมและขับกล่อมเทพเจ้า

4)  อาถรรพเวท  เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์  เป็นคาถาอาคมมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์  สำหรับทำพิธีไล่เสนียดจัญไร  และอัปมงคลให้กลับมาเป็นมงคลนำความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู

คัมภีร์พระเวท  แม้จะมีจำนวน  4  เล่ม  แต่ก็เรียกว่า  ไตรเทพหรือไตรเวท  เพราะพวกพราหมณ์ได้แต่งคัมภีร์อาถรรพเวท  ขึ้นมาในภายหลังยุคพระเวท

พระเวทแต่ละคัมภีร์แบ่งออกเป็น  2  ภาค  เรียกว่า  กาณฑะหรือกัณฑ์  ได้แก่

1)  กรรมกาณฑะ  เป็นภาคที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพิธีกรรมการบูชา

2)  ชญาณกาณฑะ  เป็นภาคที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้หรือปรัชญาเกี่ยวกับความจริงสูงสุด  ได้แก่  พรหมัน  อาตมันและโลกที่เป็นสิ่งที่ปรากฏออกมาจากพรหมัน

นอกจากนี้  คัมภีร์พระเวทแต่ละคัมภีร์ยังแบ่งออกเป็น  4  ตอนเช่นเดียวกัน  คือ

1)  มันตระ  เป็นส่วนที่รวบรวมมนตร์ต่างๆ  สำหรับเป็นบทบริการรมและขับกล้อม  อ้อนวอน  สดุดีเทพเจ้า  ในพิธีกรรมบูชาบวงสรวง

2)  พราหมณะ  เป็นบทร้อยแก้ว  หรือ  เรียงความ  อธิบายระเบียบการประกอบพิธีกรรวมต่างๆ  ไว้อย่างละเอียด

3)  อารัณยกะ  เป็นบทร้อยแก้ว  ใช้เป็นคู่มือการปฏิบัติของพราหมณ์  ที่ต้องการดำรงชีวิตเป็นผู้อยู่ป่า  (วนปรัสถ์)  เพื่อหาความสุขสงบ  ตัดขาดจากการอยู่ครองเรือน

4)  อุปนิษัท  เป็นตอนสุดท้ายแห่งพระเวท  เป็นส่วนที่เป็นแนวคิดทางปรัชญาอย่างลึกซึ้ง  เป็นบทสนทนาโต้ตอบ  อธิบายถึงธรรมชาติและจักรวาล  วิญญาณของมนุษย์การเวียนว่ายตายเกิด  กฏแห่งกรรม

ส่วนที่เป็นอมตระ  และพราหมณะ  จัดอยู่ในภาคกรรมกาณฑะ  ส่วนอรัณยกะและอุปนิษัทอยู่ในชญาณกาณฑะ

         ส่วนที่เป็นสมฤติ  แปลตามรูปศัพท์ว่า  สิ่งที่จำไว้ได้  จึงเป็นคัมภีร์ที่จดจำและถ่ายทอดกันสืบต่อมา  ได้แก่  คัมภีร์ที่ปราชญ์ทางศาสนาได้แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหา  และสนับสนุนให้การศึกษาคัมภีร์พระเวทเป็นไปโดยถูกต้อง  เช่น  คัมภีร์อุปนิษัท  คัมภีร์มนูศาสตร์  คัมภีร์ปุราณะ  คัมภีร์ภควัทคีตา  มหากาพย์มหาภารตะและมหากาพย์รามายณะ

อ้างอิง

https://sites.google.com/site/phechmvk/sasna-phrahmn-hindu

http://allknowledges.tripod.com/brahmin.html

http://www.whatami.net/tri/rel13.html

http://news.voicetv.co.th/world/67949.html

http://www.m-culture.go.th/ilovethaiculture/index.php/

http://www.watsamrong.com/tamma2.htm